Home

 
Antihistamine  

 

เป็นยาที่มีใช้กันอย่างกว้างขวางในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับหลั่งของ สารฮีสตามีน (Histamine-related disease) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคภูมิแพ้ (Allergic disorders) และโรคผิวหนัง (Dermatology disease) 
         โรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่มักมีการอักเสบเกี่ยวข้องด้วยไม่มากก็น้อย จึงควรทำความเข้าใจถึงหลักการใช้ยาในกลุ่มนี้ให้ถูกต้อง โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพเทียบกับค่าใช้จ่าย หรือความคุ้มและความปลอดภัย ขบวนการในการเกิดสารฮีสตามีน ฮีสตามีนเป็นสารที่หลั่งมาจาก Mast cells โดยสร้างมาจากขบวนการ Decarboxylation ของกรดอมิโนชนิดฮีาติดีน (Histidine) โดยอาศัยเอ็มไซม์ชื่อ 1-Histidine decarboxylase

 

เอ็มไซม์ 1-Histidine decarboxylase
           Histidine ------------------------------------------->Histamine
              Decarboxylation


      เนื้อเยื่อที่พบว่ามีความเข้มข้นของ Histamine สูงได้แก่ ปอด เยื่อบุอวัยวะหรือเซลต่างๆ (mucous membrane)สารฮีสตามีน จะถูกสร้างและเก็บอยู่ใน Mast cells และเซลเม็ดเลือดขาวชนิดเบโซฟิล (basophile) ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) หรือกลไกอื่นๆ Mast cells และเซลเม็ดเลือดขาวชนิดเบโซฟิล (basophile)ก็จะหลั่งสารฮีสตามีนออกมากระจายไปตามเนื่อเยื่อและกระแสโลหิต ภายในเวลา 2-3 นาทีโดยมีระดับสูงสุดที่ 5นาที และจะกลับสู่ภาวะปกติภายในเวลา 30 นาที

      ขบวนการหรือโรคใดก็ตามที่กระตุ้น Mast cells และ Basophile ให้หลั่งสารฮีสตามีน ออกมามากเกินความต้องการก็จะก่อให้เกิดโรคขึ้นได้    โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ ซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ตัวจับสารฮีสตามีน (histamine receptor) ซึ่งพบได้ในกล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) หรือผนังหลอดเลือดทั่วๆไป เมื่อreceptor ไปจับกับสารฮีสตามีนซึ่งหลั่งมาจาก Mast cells / Basophile ที่ถูกกระตุ้นจาก Allergen แล้วมีผลออกฤทธิ์ต่อระบบต่างๆของร่างกาย เช่น 
- ไปออกฤทธิ์ต่อ Sensory nerve ที่ผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดอาการคัน (itching / pruritis) 
- ไปออกฤทธิ์ต่อหลอดเลือดทั่วๆไป ทำให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง
- ไปออกฤทธิ๋ต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการหดเกร็ง/หืด (bronchospasm) 
- ไปออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร จะเกิดอาการปวดท้อง อาเจียน เป็นต้น
อาการต่างๆดังกล่าวเป็นผลมาจากการหลั่งของสารฮีสตามีน และขบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องมากมาย
ปัจจุบันได้มีการจัดแบ่งประเภทของยาต้านฤทธิ๋ฮีสตามีน(Anti-Histamine)ออกได้เป็น 3 รุ่นดังนี้

1. รุ่นที่ 1 (First generation) Sedating Antihistamine :
เป็นกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีนที่ผ่านตัวกลางของระบบเลือดและสมองได้ดี จึงมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาทสมองส่วนกลาง ผลคือทำให้เกิดอาการมึนซึม ไม่สดชื่น ง่วงนอน และยังมีอาการไม่พึงประสงค์เช่น คอแห้ง ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ตัวยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Chlophenilamine / Hydroxyzine / Tripolidine / Brompheniramine
ข้อดีของยากลุ่มนี้คือสามารถลดอาการน้ำมูกไหลได้ กรณีที่น้ำมูกนั้นไม่ได้เกิดจากการหลั่งของฮีสตามีนสามารถลดอาการคันได้ดีกว่ายาในกลุ่มอื่นๆ

2. รุ่นที่ 2 (Second generation) Nonsedating Antihistamines :
ยากลุ่มนี้ได้พัฒนาเพื่อแก้จุดด้อยของยาในกลุ่มที่ 1 โดยมีจุดเด่น 3 ประการคือ
- ไม่ง่วง
- ออกฤทธิ์นานกว่า 12 ชั่วโมง จนถึงหลายวัน
- ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับ receptor ต่อ ฮีสตามีน ทำให้ได้ผลการรักษาได้ดีกว่ากลุ่มแรกยากลุ่มนี้ได้แก่Terfenadine / Astemizole / Lolatadine / Mequitazine / Acrivastine /Azelastine / Ebastine / Epinastine
ข้อจำกัดของยาบางตัวในกลุ่มนี้เช่น Terfenadine / Astemizole จะต้องผ่านขบวนการเมตาโบลิซึ่มที่ตับเพื่อให้ได้สาร active form ในการออกฤทธิ์ต้านสารฮีสตามีน ปัญหาที่เกิดคือ ปฏิกริยาระหว่างยาที่มีผลต่อตับ เช่น ketoconazole และ Macrolide จะมีผลทำให้การ เมตาโบไลท์ของยา Terfenadine / Astemizole ที่ตับได้ลดลง มีผลต่อหัวใจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้  อาจรุนแรงจนถึงกับเสียชีวิตได้

3. รุ่นที่ 3 (Third generation) 
ยากลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีคุณสมบัติเหมือนรุ่นที่ 2 แต่หลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับการเมตาโบลิซึ่ม ที่ตับโดยได้พัฒนาในรูปแอคทิฟเลย จึงไม่มีผลต่อหัวใจ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Fexofenadine / Certizine

หลักการใช้ยาต้านฮีสตามีน
- โรคภูมิแพ้ทางจมูก (Allergic rhinitis) 
  คนไทยส่วนใหญ่จะมีอาการจามร่วมกับอาการคัดจมูก จึงควรรักษาด้วยยา  ต้านฮีสตามีนในรุ่นที่ 2 ร่วมกับยาลดอาการคัดจมูก (Decongestant) ผู้ป่วย  อาจมีภาวะอักเสบอื่นๆร่วมด้วย ควรให้ยาพ่นจมูกพวก Corticosteroid เสริม   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
- เยื่อจมูกอักเสบที่ไม่ใช่ภูมิแพ้และโรคหวัด (Non-allergic rhinitis&Common cold
  ยาในกลุ่มต้านฮีสตามีน รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ถูกใช้อย่างแพร่หลาย  แต่จริงๆแล้วจะสู้รุ่นที่ 1 ไม่ได้ เพราะสามารถลดน้ำมูกที่ไม่ได้เกิดจาก  สารฮีสตามีน ได้ดีกว่าโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับยาลดอาการคัดจมูก
- การรักษาลมพิษและโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Urticaria-Angioedema and  Atopic Dermatitis)
  อาการแพ้ทางผิวหนังแบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลัน 9Acute Urticaria) ซึ่งมักเกิดจากการแพ้อาหาร หรือยา หรือสารเคมีต่างๆ  และแบบชนิดเรื้อรัง 
  (Chronic Urticaria) ซึ่งมักจะเป็นประเภทไม่ทราบสาเหตุแน่นอน การรักษาสามารถใช้ยาต้านฮีสตามีนได้ทั้ง 3 รุ่น เพราะไม่มีผลแตกต่างในการรักษาสำหรับชนิดเรื้อรังควรให้ยาที่มีฤทธิ์ยาวและไม่ง่วง
  - โรคหืด (Asthma) ส่วนใหญ่จะนิยมใช่ยาต้านฮีสตามีนรุ่นที่ เนื่องจากมีฤทธิ์แก้แพ้และแก้อักเสบร่วมด้วย ส่วนยาในรุ่นที่ 1 ควรหลีกเลี่ยงเพราะจะทำ
    ให้เสมหะเหนียว ยากต่อการขับออก ยกเว้นผู้ป่วยมี Allergic rhinitis ร่วมด้วยจึงจะพิจารณาให้ใช้ยาในกลุ่มที่ 1 ได้
  - การรักษาอาการคัน (Pruritus) การใช้ยาในรุ่นที่ 1
น่าจะให้ผลดีกว่าเพราะมีฤทธิช่วยให้ง่วง ช่วยลดอาการคันได้ดีโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน